วันจันทร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2562

Learning Outcomes 7


   🌺Wednesday 18th  September 2019🌺 




🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱 🌱🌱🌱🌱

วันนี้อาจารย์จินตนาให้เพื่อนๆนำเสนอรูปแบบการสอนดังนี้


📌กลุ่มที่1  High Scope📌

💡 ไฮสโคป (High Scope) คืออะไร?💡
     ไฮสโคป (High Scope) เป็นการสอนที่เน้นการเรียนรู้แบบลงมือทำผ่านมุมเล่นที่หลากหลาย ด้วยสื่อและกิจกรรมที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก และการแก้ปัญหาอย่างกระตือรือร้น โดยการให้โอกาสเด็กเป็นผู้ริเริ่มการเล่นหรือกิจกรรมต่าง ๆ อย่างอิสระ ซึ่งตรงตามทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา (Cognitive Theory) 
ของเปียเจต์ (Piaget) นักการศึกษาที่สำคัญคนหนึ่งของโลก ความสำคัญในด้านพื้นฐานโดยเฉพาะการสร้างองค์ความรู้ของผู้เรียน จะเน้นการเรียนรู้แบบลงมือกระทำ (Active Learning) เพราะเด็กจะได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงทำให้เกิดความคิด  ความรู้  ความเข้าใจ และรู้จักลงมือแก้ปัญหาด้วยตนเอง

💡ใช้หลักปฏิบัติ 3 ประการ คือ💡

1. การวางแผน (Plan) 
เป็นการกำหนดแนวทางการปฏิบัติ หรือการดำเนินงานตามงานที่ได้รับมอบหมายหรือสิ่งที่สนใจด้วยการสนทนาร่วมกันระหว่างครูกับเด็ก และเด็กกับเด็ก ว่าจะทำอะไร อย่างไร การวางแผนกิจกรรมนี้เด็กอาจแสดงด้วยภาพหรือสัญลักษณ์ประจำตัวเด็กหรือบอกให้ครูบันทึก เป็นกระบวนการที่เด็กมีโอกาสเลือกและตัดสินใจ

2. การปฏิบัติ (Do) 
คือ การลงมือทำกิจกรรมตามแผนที่วางไว้ เป็นส่วนที่เด็กได้ร่วมกันคิด แก้ปัญหา ตัดสินใจ และทำงานด้วยตนเอง หรือร่วมกับเพื่อนอย่างอิสระตามเวลาที่กำหนดโดยมีครูเป็นผู้ให้คำแนะนำ ช่วยเหลือในจังหวะที่เหมาะสม เป็นส่วนที่เด็กได้มีการพัฒนาการพูดและปฏิสัมพันธ์ทางสังคมสูง

3. การทบทวน (Review) 
เด็ก ๆ จะเล่าถึงผลงานที่ตนเองได้ลงมือทำเพื่อทบทวนว่าตนเองนั้นได้ปฏิบัติงานตามแผนที่ได้วางไว้หรือไม่ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร การทบทวนจุดประสงค์ที่แท้จริงคือ ต้องการให้เด็กได้เชื่อมโยงแผนการปฏิบัติงานกับผลงานที่ทำ รวมถึงการเล่าประสบการณ์ต่าง ๆ ที่ได้ลงมือทำด้วยตนเอง





🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱 🌱🌱🌱🌱

                            📌กลุ่มที่2 Project Approach 📌

💡 Project Approach คืออะไร? 💡
        Project Approach  (การสอนแบบโครงการ) เป็นการเรียนที่มุ่งเน้นให้เด็กมีส่วนร่วมและกระตุ้นให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้ด้วยตัวเอง พร้อมเปิดโอกาสให้เด็กเรียนรู้ในสิ่งที่เด็กสนใจเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัวเด็ก และตอบสนองตามความต้องการที่หลากหลายของเด็ก ๆ โดยเป็นกิจกรรมเชิงปฏิบัติที่เน้นให้เด็กลงมือทำได้ด้วยตัวเอง การสอนแบบโครงการนี้ถือเป็นเครื่องมือการสอนที่ดีอย่างยิ่งสำหรับคุณครู เพราะจะแสดงให้เห็นถึงสิ่งต่าง ๆ ตั้งแต่แนวคิดในเรื่องแห่งความเป็นจริง การตั้งคำถามจากความสนใจที่แท้จริง และการค้นหาคำตอบในเชิงลึกของเด็กในหัวข้อหรือเรื่องที่เด็กสนใจ แล้วยังส่งเสริมทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ผ่านการสำรวจ การสืบค้น การจดบันทึก และการคิดวิเคราะห์ เพื่อให้ได้ข้อมูลและความรู้ต่าง ๆ ตามเรื่องที่เด็กสนใจ ผ่านประสบการณ์ตรงที่หลากหลาย ตลอดจนการใช้ความคิดสร้างสรรค์ทางศิลปะที่สรุปออกมาเป็นชิ้นงาน
💡วิธีการสอนแบบ Project Approach
 แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ
🔎ระยะที่ 1 : การเริ่มต้นโครงการ🔎
คุณครูร่วมกันอภิปรายหัวข้อกับเด็ก ๆ เพื่อค้นหาประสบการณ์ที่เด็กมี สิ่งที่เด็กรู้แล้ว และสิ่งที่เด็กอยากรู้ เด็ก ๆ จะได้เรียนรู้จากประสบการณ์ และแสดงความเข้าใจแนวคิดที่เกี่ยวข้อง จากการสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน คุณครูจะใช้คำถามถาม เพื่อกระตุ้นให้เด็กตอบคำถาม และทำจดหมายเกี่ยวกับหัวเรื่องการเรียนรู้ของโครงการส่งกับบ้านถึงผู้ปกครอง เพื่อสนับสนุนให้ผู้ปกครองได้พูดคุยกับลูกเกี่ยวกับหัวข้อนั้น ๆ และแบ่งปันความรู้ให้กับเด็ก ๆ เพื่อเด็กจะได้นำความรู้ใหม่ ๆ ที่ได้รับมาพูดคุยแลกเปลี่ยนกับเพื่อน ๆ ในห้องต่อไป

🔎 ระยะที่ 2 : การพัฒนาโครงการ 🔎
ขั้นตอนนี้จะเป็นการจัดโอกาสให้เด็ก ๆ ได้ทำงานภาคสนามและพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญในเรื่องที่เด็กสนใจเรียนรู้ โดยคุณครูจะเป็นผู้จัดหาทรัพยาการต่าง ๆ เช่น หนังสือ เอกสารงานวิจัย พร้อมทั้งแนะนำวิธีการตรวจสอบที่หลากหลายให้กับเด็ก เพื่อช่วยเด็กในการสืบค้นและรวบรวมข้อมูลด้วยวัตถุจริง เปิดโอกาสให้เด็กแต่ละคนมีส่วนร่วมในการเป็นตัวแทนของสิ่งที่เค้ากำลังสืบค้น และช่วยให้เด็กสามารถทำงานตามความสามารถของตัวเองได้ เช่น บางคนมีทักษะพื้นฐานด้านงานประดิษฐ์ การวาดภาพ การนำเสนอ และการเล่นละคร โดยคุณครูช่วยสนับสนุนให้เด็กได้ทำงานตามความถนัดของแต่ละคนผ่านการอภิปรายในห้องเรียน ซึ่งหัวข้อของ Mind Map ที่ออกแบบไว้ก่อนหน้า จะให้ข้อมูลย่อเกี่ยวกับความคืบหน้าของโครงการด้วยค่ะ
เด็ก ๆ เรียนรู้และลงมือการดำนาด้วยตนเอง
เด็ก ๆ เรียนรู้เรื่องข้าวและลงมือดำนาด้วยตนเองอย่างสนุกสนาน

🔎 ระยะที่ 3 : การสรุปโครงการ 🔎
เด็กและคุณครูร่วมกันจัดนิทรรศการ โดยให้เด็กแบ่งปันสิ่งที่เรียนรู้เกี่ยวกับหัวข้อ Project Approach ให้เด็ก ๆ ช่วยกันอภิปรายถึงหลักฐานที่สืบค้น เปรียบเทียบการตั้งสมมุติฐานว่าตรงกันหรือไม่ เล่าเรื่องโครงการของพวกเขาให้ผู้อื่นฟัง โดยเน้นจุดเด่นของโครงการ คุณครูและผู้ปกครองช่วยเด็ก ๆ วางแผนการดำเนินการ พร้อมเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งที่เด็ก ๆ ทำและค้นพบ อย่างเต็มความสามารถ ความสนุกสนาน ความกระตือรือร้นและความภูมิใจในตัวเด็กผ่านผลงานต่าง ๆ ทั้งนี้ครูควรบันทึกความคิดและความสนใจของเด็กในระหว่างการทำโครงการ เพื่อเปรียบเทียบความเปลี่ยนแปลงทางความสนใจ ความรู้ และความคิดของเด็ก ๆ ว่าก่อนเริ่มโครงการและหลังจากสรุปโครงการมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร และเพื่อเป็นแนวทางในการหาหัวข้อของโครงการในครั้งต่อไป




🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱 🌱🌱🌱🌱

                            📌กลุ่มที่3 STEM 📌
💡STEM คืออะไร?💡
S=Science-วิทยาศาสตร์
T=Technology- เทคโนโลยี
E=Engineering-วิศวกรรมศาสตร์
M=Mathematics-คณิตศาสตร์ 
Science(วิทยาศาสตร์)  
  1. ขั้นการสร้างความสนใจ เป็นขั้นของการนำเข้าสู่บทเรียน  
  2. ขั้นสำรวจและการค้นหา  
  3. ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป   
  4. ขั้นขยายความรู้ เป็นการนำความรู้มาเชื่อมโยงกับความรู้เดิมหรือแนวคิดที่ได้ค้นคว้าเพิ่มเติม ขึ้น 
  5. ขั้นการประเมิน เป็นการประเมินการเรียนรู้ด้วยกระบวนการต่างๆ ว่าผู้เรียนได้เกิดการ เรียนรู้อะไรบ้าง อย่างไร และมากน้อยเพียงใด
เทคโนโลยี (Technology) 
  1. กำหนดปัญหาหรือความต้องการ 
  2. รวบรวมข้อมูล โดยอาจจะรวบรวมข้อมูลจากตำรา วารสาร บทความ อินเทอร์เน็ต 
  3. เลือกวิธีการ เป็นการพิจารณาเลือกวิธีที่เหมาะสมและสอดคล้องกับการแก้ปัญหา 
  4. ออกแบบและปฏิบัติการ 
  5. ทดสอบ เป็นการตรวจสอบว่าชิ้นงานหรือวิธีที่สร้างขึ้นสามารถแก้ปัญหาได้หรือไม่ 
  6. ปรับปรุงแก้ไข เป็นการวิเคราะห์ว่าชิ้นงานหรือวิธีที่สร้างขึ้นจะปรับแก้ไขส่วนใด 
  7. ประเมินผล เป็นการประเมินผลว่าชิ้นงานหรือวิธีที่สร้างขึ้นสามารถแก้ปัญหาได้หรือไม่
วิศวกรรมศาสตร์(Engineering)  
  1.กำหนดปัญหา หรือความต้องการ 
  2.หาแนวทางการแก้ปัญหา 
  3.ลงมือปฎิบัติเพื่อแก้ปัญหา 
  4.ทดสอบและประเมินผล
คณิตศาสตร์ (Mathematics)  
สำหรับสาระและทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์จะครอบคลุมเรื่องจำนวนและกระบวนการ การวัด เรขาคณิต พีชคณิต การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น และ ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์

โดยกลุ่มนี้จะให้แสดงบทบาทสมมุติโดยการ นำเหรียญและอุปกรณ์ต่างๆเช่น ดินน้ำมัน หลอด ทำอย่างไรให้เหรียญไม่จมน้ำ โดยให้เราช่วยกันคิด แก้ปัญหา 




                            🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱 🌱🌱🌱🌱







ประเมิน                                                                                    
ตนเอง  ☢
-เข้าเรียนตรงเวลา
-แต่งกายถูกระเบียบ
-ตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนอรูปแบบการสอน
เพื่อน☢ 
-เพื่อนๆตั้งใจฟังอาจารย์สอน
-มาเรียนตรงเวลา
-เพื่อนนำเสนอรูปแบบการสอนอย่างตั้งใจ
อาจารย์☢
-อาจารย์สอนอธิบายและให้คำแนะนำในรูปแบบการสอนให้เข้าใจง่าย
-แต่งกายสุภาพเรียบร้อย

















วันอาทิตย์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2562

Learning Outcomes 6


             Monday 9th  September 2019                  

ความรู้ที่ได้รับ   



วันนี้อาจารย์ให้ทดลองสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ หน้าชั้นเรียนในแต่ละคนก่อนแล้วค่อยอัดคลิปส่งอาจารย์ในบล็อก





กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ (ตามคำบรรยาย)
ได้แก่ การเคลื่อนไหวหรือแสดงท่าทางตามจินตนาการจากเรื่องราวหรือคำบรรยายที่ผู้สอน เล่า

👪👪👪หน่วย ชุมชนของเรา👪👪👪



🍩🍩🍩🍩🍩🍩🍩🍩🍩









ประเมิน                                                                                    
ตนเอง  ☢
-เข้าเรียนตรงเวลา
-แต่งกายถูกระเบียบ
-ตื่นเต้นกับการอัดคลิปการสอน
เพื่อน☢ 
-เพื่อนๆตั้งใจฟังอาจารย์สอน
-มาเรียนตรงเวลา
-ช่วยเหลือในการอัดคลิปการสอน
อาจารย์☢
-อาจารย์สอนอธิบายให้เข้าใจง่าย
-แต่งกายสุภาพเรียบร้อย

















วันจันทร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2562

Learning Outcomes 5

               Monday  2 th  September 2019              










วันนี้อาจารย์สอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะโดยประกอบดังนี้
💙เคลื่อนไหวตามคำบรรยาย💙
ได้แก่ การเคลื่อนไหวหรือแสดงท่าทางตามจินตนาการจากเรื่องราวหรือคำบรรยายที่ผู้สอน เล่า
💙เคลื่อนไหวตามคำสั่ง💙
ได้แก่ การเคลื่อนไหวหรือทำท่าทาง ตามสัญญาณตามคำสั่งตามที่ตกลงไว้ก่อนเริ่มกิจกรรม
💙เคลื่อนไหวประกอบเพลง💙
ได้แก่ การทำท่าทางกายบริหารตามจังหวะและประกอบเพลง หรือคำคล้องจ้อง
💙เคลื่อนไหวพร้อมอุปกรณ์💙
ได้แก่ การเคลื่อนไหวอย่างอิสระพร้อมอุปกรณ์ที่ครูแจก
💙เคลื่อนไหวแบบผู้นำผู้ตาม💙
 ได้แก่ การเคลื่อนไหวหรือทำท่าทางจากความคิดสร้างสรรค์ของเด็กเองแล้วให้เพื่อนปฏิบัติตามกิจกรรม

🌞ส่งเสริมพัฒนาการ ทั้ง 4 ด้านของเด็กปฐมวัย🌞
ด้านร่างกาย 
การเคลื่อนไหวอยู่กับที่ และการเคลื่อนไหวเคลื่อนที่

⏳ ด้านอารมณ์-จิตใจ 
การแสดงกิริยาโต้ตอบ เสียงดนตรี ทำท่าทางตามจินตนาการและแสดงออกอย่างสนุกสนาน

⏳ ด้านสังคม 
การแก้ปัญหาในการเล่นร่วมกับผู้อื่น

⏳ ด้านสติปัญญา
การเริ่มต้นและหยุดการกระทำโดยสัญญาณ

🌞การบรูณาการ🌞
- คณิตศาสตร์ ได้แก่ ทิศทาง การหาพื้นที่ต่างๆ
- วิทยาศาสตร์ ได้แก่ การสังเกต การคาดคะเน
- พลศึกษา ได้แก่ การเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกาย




ต่อมาอาจารย์ให้พวกเราเขียนแผนการสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ คนละแผน และให้ออกมาสอน








ประเมิน                                                                                    
ตนเอง  ☢
-เข้าเรียนตรงเวลา
-แต่งกายถูกระเบียบ
-ตั้งใจเรียนและตั้งใจทำงาน
เพื่อน☢ 
-เพื่อนๆตั้งใจฟังอาจารย์สอน
-มาเรียนตรงเวลา
อาจารย์☢
-อาจารย์ตั้งใจสอนอธิบายให้เข้าใจง่าย
-แต่งกายสุภาพเรียบร้อย